วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

จินตเปียโน

ในบทความก่อนได้พูดถึงการรวมความเชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการกับทักษะทางเปียโนทำให้เกิดหลักสูตร ทักษะ ขั้นตอนขึ้น  แน่นอนว่ามีผลิตผลที่เกิดขึ้นจากการรวมกันนั้นหลายอย่าง  ซึ่งอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ “จินตเปียโน” 
สมองของเรานั้นเซลล์ประสาทถูกสร้างและเชื่อมโยงขึ้นจากประสาทสัมผัสทั้งห้าเพื่อรองรับความคิดอันเกี่ยวเนื่องกัน  เมื่อเด็กได้ยิน ได้เห็น ได้สัมผัส  ได้คิดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  กระแสประสาทจะเริ่มทำงาน  การติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ต่างๆ เริ่มรวมมือกันสร้างเป็นโครงข่าย เป็นทีมงานที่ทำงานร่วมกัน
จินตเปียโนทำให้เด็กได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส  ได้แนวคิดที่แตกต่างไปจากเดิม (ซึ่งผู้เขียนก็เพิ่งค้นพบเหมือนกัน)  ได้จินตนาการที่กว้างขึ้นเหมือนภาพพาโนราม่า  หรือปลาฉลามหัวฆ้อนที่มีวิสัยทัศน์กว้างกว่าปลาฉลามทั่วไป 
ถ้าเปรียบเทียบสมองเป็นกล่องใส่ความคิด  จินตเปียโนนั้นทำให้กล่องของเรากว้างขึ้น  เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น  โดยในกล่องนั้นถูกทำให้เป็นสัดส่วนเป็นห้องๆ  เพื่อง่ายแก่การแยกประเภท แยกลำดับ และเชื่อมความสัมพันธ์ของแต่ละกล่องเข้าด้วยกันด้วยแนวคิดทางจินตเปียโน
 

                                  
โดยสรุปแล้วจินตเปียโนนั้นให้ประโยชน์แก่ผู้เรียนในหลายๆ ด้าน  เนื่องจากเป็นแนวคิดที่เกิดจากความรู้ในส่วนของสมองซีกซ้าย  และความรู้ในส่วนของสมองซีกขวามารวมกัน  ดังนั้นเวลาที่ใช้จินตเปียโน สมองทั้งสองซีกจึงถูกกระตุ้นให้ทำงานและร่วมมือกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น