วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

เพลง Wedding march สไตล์ เทคกุเนะ

          วันนี้ลองคิดวิธีการเขียนโน้ตเพลงออกมาในรูปแบบของตัวเลขที่มีทั้งมือซ้ายและมือขวา และมีจังหวะกำกับ เราเรียกการเขียนโน้ตแบบนี้ว่า เทคกุเนะ  


วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างสัญลักษณ์ เสียงดัง

          สัญลักษณ์ "f" อ่านว่า "Forte" หมายถึง "เสียงดัง" เวลาที่เราเจอสัญลักษณ์นี้ให้เล่นเสียงดังขึ้นจากระดับเสียงของโน้ตตัวก่อนหน้าไปจนกว่าจะเจอสัญลักษณ์ตัวอื่น

เสียงดัง

ตัวอย่าง






วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างสัญลักษณ์ เสียงเบา


        สัญลักษณ์ "p" อ่านว่า "Piano" หมายถึง "เสียงเบา" เวลาที่เราเจอสัญลักษณ์นี้ให้เล่นเสียงเบาลงจากระดับเสียงของโน้ตตัวก่อนหน้าไปจนกว่าจะเจอสัญลักษณ์ตัวอื่น

เสียงเบา


ตัวอย่าง






วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สัญลักษณ์

ตัวอย่างสัญลักษณ์ ตัวหยุดตัวดำ

ตัวอย่างสัญลักษณ์ ตัวหยุดตัวดำ

  ตัวหยุดตัวดำ Quarter rest (อเมริกัน) หรือ Crotchet rest (อังกฤษ) เป็นสัญลักษณ์คล้ายสายฟ้าฟาด เวลาเล่นเพลงหากเจอตัวหยุดตัวดำ ให้นับจังหวะเหมือนเป็นตัวดำ 1 ตัว แต่ไม่ต้องกดคีย์เปียโน

ตัวหยุดตัวดำ

ตัวอย่าง






วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พัฒนาลูกน้อยด้วยจินตเปียโน ตอนที่ 3 (ด้านสติปัญญา)

ตอนที่ 3 การนับลด

การนับลดก็คือการลบนั่นเอง  เวลาเราบวกเราก็นับเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ  ทีละหนึ่งคีย์   เวลาลบก็เหมือนกัน  ให้นับถอยหลังลงมาทีละหนึ่งคีย์  และเช่นกันเด็กจะต้องเรียนรู้หลัก (อ็อคเต็บ) ต่างๆ  นับถอยหลังจากสิบถึงหนึ่งได้ และเข้าใจการนับเปลี่ยนหลัก  ก็จะลบเลขบนคีย์เปียโนได้เหมือนกับการบวกเลข
จะว่าไปแล้วก็เหมือนกับการเดินหน้า  ถอยหลัง  บวกคือเดินไปข้างหน้าทีละหนึ่งก้าว   ลบคือถอยหลังมาทีละหนึ่งก้าว  เวลาเด็กเริ่มเดินไปข้างหน้าจะเริ่มเตาะแตะแล้วค่อยก้าวเดินอย่างมั่นคง  แล้วออกวิ่ง  เหมือนเวลาเริ่มบวกเลข  ก็จะค่อยๆนับไปทีละหนึ่ง  จนชำนวญจึงบวกเร็วขึ้นเรื่อยๆ
เวลาเด็กเริ่มเดินถอยหลังก็จะค่อยๆ  เรียนรู้วิธีการเดินถอยหลัง  แรกๆ เดินถอยหลังจะทำไม่ค่อยได้  พอเริ่มเรียนรู้วิธีการทรงตัว  การก้าว  ก็เริ่มทำได้  และทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ  เวลาลบเลขก็เหมือนกัน  เด็กเริ่มเข้าใจตัวเลขมากขึ้น เรียนรู้วิธีการนับถอยหลังและหลักการลบเลข  พอเริ่มทำได้ก็จะทำได้เร็วขึ้นเรื่อยๆ
การเรียนรู้แต่ละอย่างของเด็กนั้นต้องใช้เวลา  เพราะเขาต้องเรียนรู้องค์ประกอบของการเรียนรู้นั้นๆ ไปทีละส่วนจนเข้าใจและนำมาปะติดปะต่อกันจนเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะเรียนรู้  อย่างการลบ  ก็มีองประกอบหลายอย่าง  เขาต้องเรียนรู้การบวกมาก่อน  แล้วจึงเรียนรู้วิธีการนับถอยหลัง  มีความเข้าใจในตัวเลข  เข้าในการเพิ่มและการลด  เข้าใจการเปลี่ยนหลัก  หลายส่วนเข้าด้วยกันจนเข้าใจคำว่าการลบ
หากเราลืมไปว่าตอนเด็กเราเคยเรียนรู้มาอย่างไร  ใช้เวลาในการเรียนรู้แต่ละอย่างนานเท่าไร  และมีประสบการณ์แวดล้อม (ประสบการณ์เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่เรียนรู้) มากน้อยเพียงใด  เราอาจเห็นว่าเด็กๆ ที่กำลังเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ นั้น  ทำไมถึงเข้าใจยากนัก...

                                                                                                  ครูฤทธิ์  จิตพัฒฯ