วันนี้ลองคิดวิธีการเขียนโน้ตเพลงออกมาในรูปแบบของตัวเลขที่มีทั้งมือซ้ายและมือขวา และมีจังหวะกำกับ เราเรียกการเขียนโน้ตแบบนี้ว่า เทคกุเนะ
วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ตัวอย่างสัญลักษณ์ เสียงดัง
สัญลักษณ์ "f" อ่านว่า "Forte" หมายถึง "เสียงดัง" เวลาที่เราเจอสัญลักษณ์นี้ให้เล่นเสียงดังขึ้นจากระดับเสียงของโน้ตตัวก่อนหน้าไปจนกว่าจะเจอสัญลักษณ์ตัวอื่น
ตัวอย่าง
เสียงดัง
ตัวอย่าง
วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ตัวอย่างสัญลักษณ์ เสียงเบา
เสียงเบา
ตัวอย่าง
วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ตัวอย่างสัญลักษณ์ ตัวหยุดตัวดำ
ตัวหยุดตัวดำ Quarter rest (อเมริกัน) หรือ Crotchet rest (อังกฤษ) เป็นสัญลักษณ์คล้ายสายฟ้าฟาด เวลาเล่นเพลงหากเจอตัวหยุดตัวดำ ให้นับจังหวะเหมือนเป็นตัวดำ 1 ตัว แต่ไม่ต้องกดคีย์เปียโน
ตัวหยุดตัวดำ
ตัวอย่าง
วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
พัฒนาลูกน้อยด้วยจินตเปียโน ตอนที่ 3 (ด้านสติปัญญา)
ตอนที่ 3 การนับลด
การนับลดก็คือการลบนั่นเอง เวลาเราบวกเราก็นับเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละหนึ่งคีย์ เวลาลบก็เหมือนกัน ให้นับถอยหลังลงมาทีละหนึ่งคีย์ และเช่นกันเด็กจะต้องเรียนรู้หลัก (อ็อคเต็บ)
ต่างๆ นับถอยหลังจากสิบถึงหนึ่งได้
และเข้าใจการนับเปลี่ยนหลัก ก็จะลบเลขบนคีย์เปียโนได้เหมือนกับการบวกเลข
จะว่าไปแล้วก็เหมือนกับการเดินหน้า ถอยหลัง
บวกคือเดินไปข้างหน้าทีละหนึ่งก้าว
ลบคือถอยหลังมาทีละหนึ่งก้าว เวลาเด็กเริ่มเดินไปข้างหน้าจะเริ่มเตาะแตะแล้วค่อยก้าวเดินอย่างมั่นคง แล้วออกวิ่ง
เหมือนเวลาเริ่มบวกเลข
ก็จะค่อยๆนับไปทีละหนึ่ง
จนชำนวญจึงบวกเร็วขึ้นเรื่อยๆ
เวลาเด็กเริ่มเดินถอยหลังก็จะค่อยๆ เรียนรู้วิธีการเดินถอยหลัง แรกๆ เดินถอยหลังจะทำไม่ค่อยได้ พอเริ่มเรียนรู้วิธีการทรงตัว การก้าว
ก็เริ่มทำได้
และทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
เวลาลบเลขก็เหมือนกัน เด็กเริ่มเข้าใจตัวเลขมากขึ้น
เรียนรู้วิธีการนับถอยหลังและหลักการลบเลข
พอเริ่มทำได้ก็จะทำได้เร็วขึ้นเรื่อยๆ
การเรียนรู้แต่ละอย่างของเด็กนั้นต้องใช้เวลา
เพราะเขาต้องเรียนรู้องค์ประกอบของการเรียนรู้นั้นๆ
ไปทีละส่วนจนเข้าใจและนำมาปะติดปะต่อกันจนเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะเรียนรู้ อย่างการลบ
ก็มีองประกอบหลายอย่าง
เขาต้องเรียนรู้การบวกมาก่อน
แล้วจึงเรียนรู้วิธีการนับถอยหลัง
มีความเข้าใจในตัวเลข
เข้าในการเพิ่มและการลด เข้าใจการเปลี่ยนหลัก หลายส่วนเข้าด้วยกันจนเข้าใจคำว่าการลบ
หากเราลืมไปว่าตอนเด็กเราเคยเรียนรู้มาอย่างไร ใช้เวลาในการเรียนรู้แต่ละอย่างนานเท่าไร และมีประสบการณ์แวดล้อม
(ประสบการณ์เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่เรียนรู้) มากน้อยเพียงใด เราอาจเห็นว่าเด็กๆ
ที่กำลังเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ นั้น
ทำไมถึงเข้าใจยากนัก...
ครูฤทธิ์ จิตพัฒฯ
วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
พัฒนาลูกน้อยด้วยจินตเปียโน ตอนที่ 2 (ด้านสติปัญญา)
ตอนที่ 2 นับเพิ่ม
หนึ่ง สอง
สาม สี่ ห้า
หก เจ็ด แปด
เก้า สิบ ........................
นับเพิ่มไปเรื่อยๆ
นับไปจนถึงหนึ่งร้อยเมื่อไหร่ก็เริ่มบวกกันได้ การนับเพิ่มก็คือการบวก มีครูคณิตศาสตร์อยู่ท่านหนึ่งบอกกับผมว่า วิชาคณิตนี้มีแต่การบวก
ตอนนั้นผมงงอยู่หลายวันว่าจะมีแต่การบวกได้อย่างไร ในเมื่อลบก็มี
คูณหารก็มี
พอเรียนสูงขึ้นไปก็ยังมีสัญลักษณ์อื่นๆ เต็มไปหมด แต่ครูคนนี้บอกว่ามีแต่การบวก
นั่งคิดไปคิดมาว่า การบวกก็คือการนับเพิ่มขึ้นไป ถ้าเป็นลบเราก็นับเพิ่มลงมาจาก เก้า แปด เจ็ด
หก ... ก็เพิ่มทีละหนึ่งเหมือนกันแต่กลับทางกัน
ถ้าเป็นการคูณเราก็เพิ่มเข้าไปในจำนวนที่เท่าๆ กัน
เช่น 7 เพิ่ม ไปอีก 7 เป็น
14 เพิ่มไปอีก 7 เป็น 21 ส่วนการหารก็เพิ่มทางลบทีละเท่าๆ กัน
พอมาคิดอย่างนี้แล้วก็จริงอย่างที่ครูท่านนั้นพูดเอาไว้
มาพูดถึงการนับเพิ่มด้วยเปียโนกันบ้างว่าเป็นอย่างไร ในเปียโนนั้นคีย์ขาว 7 คีย์ กับคีย์ดำอีก 5 คีย์ ทั้งหมด 12 คีย์รวมเป็นหนึ่งอ็อคเต็บ
เปียโนส่วนมากมี 7 อ็อคเต็บ กับเศษอีกนิดหน่อย
ถ้าเราใช้แต่ละอ็อคเต็บมาแทนการบวกเลขในแต่ละหลักเราจะได้ 7 หลัก คือ หลักหน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน
และถ้าเราบวกเลขทศนิยมสองหลัก
ก็จะใช้เปียโนแทนการบวกได้ถึงหลักหมื่น
เมื่อเด็กเรียนรู้หลัก
(อ็อคเต็บ) ต่างๆ นับหนึ่งถึงสิบได้
และเข้าใจการนับเปลี่ยนหลัก
ก็เริ่มทำการบวกบนเปียโนกันได้เลย
ครูฤทธิ์ จิตพัฒฯ
วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
พัฒนาลูกน้อยด้วยจินตเปียโน ตอนที่ 1 (ด้านสติปัญญา)
ตอนที่1 ก่อนตัวเลข
อันอัน เท่ากับ สองอัน
อันนั้น อันนี้ อันโน้น เอาอันนี้ไหม จะเอาอันนั้น ไม่เอาอันนี้
คำว่า “อัน”
มักถูกใช้เรียกก่อนที่เด็กจะรู้จักชื่อของสิ่งนั้นๆ จนกว่าจะจำชื่อต่างๆ ได้ คำว่าอันจึงใช้น้อยลง
และหันมาเรียกชื่อของสิ่งนั้นโดยตรง เช่น ทาโร่ โค้ก ไอติม ป๊อกกี้
ช็อคโกแล็ต ซึ่งถ้าเรานำของเหล่านี้มาวางเรียงกันแล้วให้เด็กเล็กๆ
เลือก เขาก็จะชี้ไปที่ของสิ่งนั้นแล้วบอกว่า
อันนี้ เอาอันนี้ เอาอันนั้น คำว่า “อัน” จึงถูกนำมาใช้มากในเด็กเล็กๆ
พอโตขึ้นมาหน่อยอันเดียวเริ่มไม่พอ เด็กเริ่มร้องเอาอีกๆ แม่เลยถามว่า “เอากี่อัน” มีคำว่ากี่เพิ่มเข้ามา แรกๆ
เด็กไม่เข้าใจแม่จะมีคำตอบให้เลือก เช่น เอาหนึ่งหรือสองอัน คราวนี้ยิ่งงงเข้าไปอีก แม่ถามต่อว่า
หนึ่งหรือสอง พร้อมกับชูของให้ดู
พอมีของให้เลือกก็เหมือนกับวิธีการที่เด็กเคยเรียนรู้ว่ามีของให้ชี้แล้วบอกว่า
เอาอันนี้ เขาก็จะได้ของ
แม่จึงยืนของให้พร้อมกับพูดว่า สอง
เหล่านี้พอทำบ่อยๆ เข้าจึงเริ่มรู้ความหมายของคำว่า “หนึ่ง สอง”
สัญลักษณ์ตัวเลขนั้นค่อนข้างจะเป็นเรื่องของนามธรรม ดังนั้นเพื่อให้มีความเข้าใจในตัวเลขแต่ละตัวโดยมากแล้วเด็กต้องมีประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมก่อนจึงจะเข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆ ได้
ซึ่งแต่ละคนก็มีประสบการณ์ในเรื่องของรูปธรรมไม่เท่ากัน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาเด็กเรียนคณิตศาสตร์แล้วบางคนเข้าใจได้เร็ว
บางคนต้องทำความเข้าใจอยู่นานพอสมควรจึงเข้าใจได้
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยเปียโนนั้น
ทำให้เด็กได้เรียนรู้อยู่บนรูปธรรม
เห็นของเหมือนๆ กัน (คีย์เปียโน)
ได้นับเลข
ได้เห็นจำนวนที่เป็นรูปธรรม
เวลานับก็มี Reaction คือเสียงของคีย์ต่างๆ ทำให้การเรียนคณิตศาสตร์น่าสนุกมากขึ้น และเข้าใจได้ง่าย
ดังนั้น
เมื่อเด็กได้พบกับ อัน อัน และ
เอากี่อันแล้ว
ลำดับต่อไปเราอาจให้เขาลองพบกับคำว่า เปียโน และ คีย์เปียโน
เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ก่อนพบกับสัญลักษณ์ทางตัวเลขอันแสนเข้าใจยากในลำดับต่อไป
ครูฤทธิ์ จิตพัฒฯ
วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
พรสวรรค์ (IQ สูง) VS พรแสวง (ความสนใจและความคิดถึง)
ช่วงเริ่มจำคีย์เปียโนส่วนมากจะเจอเด็กอยู่สามลักษณะ คือหนึ่ง ไม่จำ เห็นคีย์แล้วท้อละลานตาไปหมด สองคือ ค่อยๆ จำแบบนับไล่ไปทีละตัวตั้งแต่โด เร มี ฟา ซอล ลา ที สามคือ จำได้ว่า ลา คือ ลา กดได้เลยไม่ต้องนับไล่ไปทีละตัว
เด็กทุกคนล้วนผ่านสามลักษณะดังกล่าว กว่าจะจำได้ว่าตัวไหนเป็นตัวไหนก็ใช้เวลากันพอสมควร เวลาในการจำนี่แหละคือตัววัดไอคิวของเด็ก ยิ่งเด็กซ้อมน้อยแต่จำคีย์ได้เร็วไอคิวยิ่งดี (ไม่ได้บอกว่าไอคิวสูงแล้วไม่ต้องซ้อมนะครับแค่เปรียบเทียบให้ฟัง)
เด็กที่ใช้เวลานานก็ไม่ได้แปลว่าไอคิวไม่ดี แต่อาจมีไอคิวอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ เพราะเด็กโดยทั่วไปกว่าจะเอาชนะลักษณะทั้งสามอย่างจนจำได้ว่าคีย์ไหนเป็นคีย์ไหนก็ใช้เวลากันพอสมควร มีเพียงเด็กไม่กี่คนเท่านั้นที่ใช้เวลาน้อยมากในการจำจนเราเห็นความแตกต่าง เช่น เด็กส่วนมากเมื่อรู้ว่าต้องจำคีย์เปียโนอาจท้อไปสามวัน แต่เด็กคนนี้ทำใจได้ในสามนาที บางคนไล่โน้ตอยู่ห้าวัน เด็กคนนี้ไล่โน้ตวันเดียวพอมาอีกวันก็จำได้แล้ว
บางคนอาจคิดว่าทำไมลูกเราถึงทำไม่ได้ซักที ก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะอยู่ในเกณฑ์ของเด็กส่วนใหญ่ ทำไปๆ เดี๋ยวก็ทำได้เอง เราแค่ให้เวลาเขามากหน่อย เด็กบางคนทำได้เร็วจากความสนใจไม่ได้เกิดจากไอคิวก็มี พอเรียนไปก็กลับไปซ้อมกลับไปเล่นต่อที่บ้าน ว่างก็เล่น ไม่ว่างก็คิดถึง แบบนี้ถึงมีไอคิวอยู่ในระดับทั่วๆ ไป อนาคตคงเก่งกว่าคนไอคิวสูงที่เล่นโดยไม่มีความสนใจ
ดังนั้นไม่ว่าเขาจะจำคีย์เปียโนอย่างไร ใช้เวลาเท่าไหร่ ก็คงไม่สำคัญเท่ากับความสนใจและความคิดถึงที่มีให้กับเปียโน
ครูฤทธิ์ จิตพัฒฯ
วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
พัฒนาลูกน้อยด้วยเปียโน ตอนที่ 4 (ทักษะทางด้านเปียโน)
ตอนที่ 4 พัฒนาด้วยสามทักษะห้าขั้นตอน
การพัฒนาทักษะทางด้านเปียโนนั้นมีอยู่หลายวิธี หลายรูปแบบ
สามทักษะห้าขั้นตอน คือรูปแบบหนึ่งในการเรียนรู้เปียโนที่เราคิดขึ้นมา ใช้ในการสอนเด็ก ซึ่งผู้ใหญ่เองก็สามารถเรียนรู้ด้วยสามทักษะห้าขั้นตอนได้เช่นกัน
สามทักษะนั้นมีอะไรบ้าง หนึ่งคือทักษะการฟัง ทักษะนี้จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น การฟังแบบได้ยิน
เช่นฟังเพลง ฟังเสียง ได้ยิน
แต่ไม่รู้ว่าเสียงนั้นคืออะไร
มีความหมายอะไร
สัมพันธ์กับอะไรได้บ้าง
ยากขึ้นมากอีกคือ ฟังแบบจำได้
เช่นฟังเสียงโน้ตโด
ก็รู้ว่าคือโด ฟังเสียงเร
ก็รู้ว่าคือ เสียงเร ฟังโดเสียงต่ำ เสียงสูง
ก็จำได้
อย่างนี้เริ่มยากสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนดนตรี และยากขึ้นไปอีกคือฟังแบบแยกแยะเสียงได้ เช่นกดโด เร พร้อมกัน ก็รู้ว่า กดโด เร กด โด มี ซอล พร้อมกันก็รู้ว่า กดโด มี ซอล ยิ่งกดพร้อมกันมากความยากก็เพิ่มมากขึ้น นี่คือการฝึกทักษะทางด้านการฟัง
สองคือทักษะการอ่าน ทักษะนี้ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสัญลักษณ์ มันก็คลายๆ กับการเรียนตัวอักษรทั่วๆ ไป
คือเมื่อเห็นสัญลักษณ์แล้วรู้ว่ามันคืออะไร
กดที่คีย์ไหน
การอ่านโน้ตนั้นเริ่มแรกอาจให้รู้จักโน้ต โด ก่อนคือตัวดำที่อยู่บนขีดสั้นๆ
ระหว่างบรรทัดห้าเส้น
อย่างที่เพลงเขาแต่งไว้ว่า “โด นั้นชอบนั่งชิดช้า แกว่งไปแกว่งมา นั่งร้องโด โด โด โด”
หลังจากนั้นก็สอนอ่านไล่ขึ้นไป
และไล่โน้ตลงมาว่ามีลักษณะอย่างไร
ตัวดำอยู่ระหว่างเส้นนี้เรียกว่าโน้ตอะไร (คีบตะเกียบ) ถ้าตัวดำอยู่ทับเส้นนั้นเรียกว่าโน้ตอะไร
(ไม้เสียบลูกชิ้น) และกดอย่างไร
ต่อมาค่อยให้รู้จักสัญลักษณ์ทางดนตรีต่างๆ ว่าใช้อย่างไร เช่นตัวเขบ็ต
หนึ่งชั้น สองชั้น ตัวกลม ตัวขาว ตัวดำ
ตัวหยุด กุญแจซอล กุญแจฟา เส้นกั้นห้อง ฯลฯ
และสุดท้ายอ่านให้คล่องเหมือนกับอ่านหนังสือ
เพราะนี่คือภาษาทางดนตรี
สามคือการเล่น
ต้องอาศัยความพร้อมทางร่างกาย
คือกล้ามเนื้อมัดเล็ก
เพราะฉะนั้นหากใครต้องการให้เด็กเล่นดนตรีให้เก่งตั้งแต่เล็กๆ
คงยากพอสมควรเนื่องจากเด็กเล็กๆ ยังควบคุมกล้ามเนื้อนิ้วมือได้ไม่ดีนัก อย่าว่าแต่การเล่นเปียโนเลย จับช้อนกินข้าวโดยไม่หกให้ได้ก่อนน่าจะดีกว่า
เพราะนั่นแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของการใช้นิ้วมือได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นการฝึกเปียโนในทักษะนี้อาจเริ่มจากการฝึกทานอาหารโดยใช้ช้อนซ้อมให้ชำนาญก่อน
หลังจากนั้นจึงคาดหวังให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งกดให้ถูกคีย์ ต่อมาจึงเพิ่มจำนวนนิ้วที่กดให้ครบสิบนิ้ว แล้วจึงฝึกฝนในเรื่องอื่นๆ ที่ยากขึ้นไปเป็นลำดับ เช่น ในเรื่องของน้ำหนัก ความเร็ว
ความแม่นยำ ไปจนถึงระดับที่เรียกว่า
“พลิ้ว” เป็นต้น
ทักษะทั้งสามที่กล่าวมานี้ไม่ว่าจะเรียนภาษาอะไรก็ต้องใช้ทั้งนั้น แต่อาจแตกต่างกันไปตามรูปแบบการใช้งาน อย่างเรียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
ภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี
ก็ต้องฟังเสียงพูด
แยกแยะให้ออกว่าเสียงนี้มีความหมายอย่างไร
สัญลักษณ์อย่างนี้หมายถึงอะไร
ใช้อย่างไร อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร
ดนตรีก็เหมือนภาษาเหล่านี้ที่มีการฟัง
การอ่าน การเล่นเพลง เราเรียกรวมว่า “สามทักษะ”
ส่วนคำว่าห้าขั้นตอนนั้นเป็นรูปแบบการเรียนเปียโนเฉพาะที่ บ้านดนตรีมิเนอว่าคิดขึ้นมา
ไม่สามารถนำมากล่าวถึงในที่นี้ได้
ครูฤทธิ์ จิตพัฒฯ
วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
พัฒนาลูกน้อยด้วยเปียโน ตอนที่ 3 (ด้านอารมณ์)
ตอนที่ 3 การเคลื่อนไหวของตัวโน้ตทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆ
ตัวโน้ตเคลื่อนไหวก่อให้เกิดจังหวะ
จังหวะทำให้เกิดอารมณ์
ความคิดที่เคลื่อนไหวก่อให้เกิดการสัมผัส การสัมผัสทำให้เกิดอารมณ์
สนุกสนาน
เบิกบาน สำราญใจ อยากรู้อยากเห็น โกรธ หงุดหงิด ฉุนเฉียว ก้าวร้าว ดื้อกลัว
อิจฉา คร่ำเคร่ง ลองลอย เบื่อ กังวล เป็นอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเด็ก
(ดูเหมือนด้านลบจะมีมากกว่า) การที่ผู้ใหญ่ปิดกั้นไม่ให้แสดงอารมณ์บางอย่างนั้นทำให้เด็กต้องเก็บกดอารมณ์เหล่านั้นไว้
ต่อไปถ้ามีโอกาสเขาก็จะแสดงอารมณ์เหล่านั้นออกมา
ผู้ใหญ่บางคนอาจมีความเห็นที่แตกต่างโดยให้เด็กได้มีโอกาสแสดงอารมณ์ต่างๆ
เหล่านี้อย่างเต็มที่ จนบางครั้งเด็กติดการแสดงอารมณ์บางอย่างที่ไม่ดีจนเป็นนิสัย อีกทางหนึ่งคือการให้เด็กรู้จักอารมณ์ รู้จักชื่อเรียก รู้จักกาลเทศะในการแสดงอารมณ์ต่างๆ รู้จักเปลี่ยนแปลงอารมณ์
และสุดท้ายรู้จักจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสร้างสรรค์
ทางนี้เป็นทางที่ผู้ใหญ่คงต้องออกแรงและใช้ความคิดกันหน่อย ส่วนผลลัพธ์จะดีหรือไม่นั้นไม่มีใครกำหนดได้
(แต่น่าจะดีที่สุด)
เพราะสุดท้ายแล้วก็อยู่ที่ตัวเด็กเองว่าจะแสดงอารมณ์ต่างๆ ออกมาอย่างไร
การนำเปียโนมาช่วยพัฒนาเรื่องอารมณ์ต่าง
ๆ ของเด็ก
ที่มีทั้งทางด้านบวกและด้านลบทำให้เราไม่ต้องให้เด็กสัมผัสกับอารมณ์ผ่านตัวบุคคล
ซึ่งถ้าเป็นอารมณ์ในด้านบวกคงไม่มีผลอะไรมาก
แต่ถ้าเป็นอารมณ์ในด้านลบการให้เด็กเรียนรู้ผ่านตัวบุคคลคงไม่ใช่เรื่องน่าสนุกซักเท่าไหร่ ดังนั้นหากเราใช้เปียโนมาเป็นสื่อช่วยการเรียนรู้ในเรื่องอารมณ์ของเขาคงจะดีไม่น้อย
การนำเปียโนมาเป็นสื่อนั้นบางท่านอาจยังนึกภาพไม่ออก
ดังนั้นจะขอยกตัวอย่างซักเรื่องหนึ่งเช่น การใช้ไม้เรียว ไม้เรียวเป็นอุปกรณ์หนึ่งในหลายๆ
อย่างที่ช่วยการเรียนรู้ของเด็กมาตั้งแต่สมัยโบราณ (ปัจจุบันหลายท่านอาจเห็นว่าล้าสมัย หรือ
ไม่ได้ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ชิ้นนี้แล้ว)
ซึ่งหากไม่มีไม้เรียวแล้วให้เด็กเรียนรู้อารมณ์จากมือของพ่อแม่โดยตรง คงไม่มีผลอะไรมาก ถ้าเป็นการอุ้มชู จูงไปเที่ยว แต่หากต้องตีโดยใช้มือคงไม่ดีซักเท่าไหร่
ในข้อนี้ไม้เรียวจึงคล้ายกับเปียโนที่คอยเป็นสื่อในการแสดงอารมณ์ทางด้านลบ
อีกเรื่องหนึ่งก็คือการเล่นกีฬา หากเราตีแบด ไม้แบดกับลูกแบดก็เป็นสื่อในการแสดงอารมณ์ได้เหมือนกัน เช่นเวลาโกรธ ก็ตีแรงๆ เวลามีอารมณ์สร้างสรรค์ ก็เล่นแบบวางแผน หรือ หากเราเล่นบาสเก็ตบอล ลูกบอลก็เป็นสื่อ แต่อาจนำมาใช้ในการแสดงอารมณ์มากไม่ได้
เพราะมีการรับส่งลูกระหว่างบุคคล ซึ่งถ้าต้องการแสดงอารมณ์ทางด้านลบควรส่งเสริมให้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
การนำเปียโนมาเป็นสื่อในการสอนเรื่องอารมณ์
ตอนแรกควรมุ่งเน้นไปที่การกดตัวโน้ตเป็นจังหวะต่างๆ
เพื่อให้รู้ว่าจังหวะนี้แสดงออกถึงอารมณ์อะไร เรียนจังหวะง่ายๆ ที่สื่อถึงอารมณ์ในเชิงบวกเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้เขารู้สึกสนุกกับการเล่นเปียโน
แล้วจึงให้เรียนรู้ในจังหวะที่หลากหลายและต่อเนื่องกันเป็นบทเพลง จนกระทั่งเด็กมีความสามารถทางด้านเปียโน จึงค่อยเรียนรู้อารมณ์ในบทเพลงที่มีความละเอียดมากขึ้นตามลำดับ
แม้เปียโนจะใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้เรื่องอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่อารมณ์พื้นฐานไปจนถึงอารมณ์ในระดับสูง
แต่อย่าลืมว่าทุกอุปกรณ์ก็มีข้อจำกัดแตกต่างกันออกไป การได้เรียนรู้โดยใช้วิธีการต่างๆ และอุปกรณ์ที่หลากหลายย่อมส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจของเด็กได้มากกว่า
ครูฤทธิ์ จิตพัฒฯ
วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
พัฒนาลูกน้อยด้วยเปียโน ตอนที่2 (พัฒนาภาษา)
ตอนที่ 2 ดัง-เบา
สั้น-ยาว สูง-ต่ำ
ดัง-เบา สั้น-ยาว สูง-ต่ำ เป็นชื่อเรียกลักษณะเสียงแบบง่ายๆ
ที่เรารู้จักกันดี
การพัฒนาลูกน้อยด้วยเปียโนก็ใช้เพียงลักษณะเสียงต่างๆ
เหล่านี้มาเป็นเบื้องต้นของการพัฒนาภาษา
เด็กแรกเกิดที่เพิ่งออกจากท้องแม่ส่วนใหญ่คุณหมอมักทำให้เด็กร้องไห้ออกมาเสียงดัง เมื่อเราสังเกตเสียงร้องนั้นจะพบว่ามีลักษณะของเสียงตามที่กล่าวมาข้างต้นครบทั้งสามอย่าง
คือ เสียง ดัง-เบา เสียงสั้น-ยาว เสียงสูง-ต่ำ เปียโนก็เหมือนกันสามารถทำเสียงให้มีลักษณะต่างๆ
ครบทั้งสามอย่าง
คราวนี้มาดูต่อกันที่พัฒนาการเด็กในเรื่องของภาษา
กล่าวคือ เด็กจะมีช่วง เปล่งเสียง เล่นเสียง และเลียนเสียงตามลำดับ
การเปล่งเสียงของเด็กมีประโยชน์ในช่วงแรกของชีวิต เพราะเวลาหิวพอเปล่งเสียงร้องแม่ก็จะรู้ว่า ได้เวลาให้นม เวลาเปียกชื้นไม่สบายตัวพอร้องไห้แม่ก็รู้ว่า ได้เวลาอาบน้ำเปลี่ยนชุดใหม่ เปลี่ยนผ้าอ้อม เรียกว่าหิวก็ร้อง เปียกก็ร้อง ชีวิตก็รอดเป็นปกติสุข
พอต่อมาเริ่มรู้ความสามารถของตนเองมากขึ้นว่าตนเองชันคอ พลิกตัว คืบคลานได้
ในเรื่องของเสียงก็เริ่มสังเกตว่าตนเองทำได้มากกว่าการร้องไห้ จึงเริ่มทำเป็นเสียงต่างๆ ออกมา ที่บางคนเรียกว่า เด็กเริ่มอ้อแอ้แล้ว ก็คือช่วงเล่นเสียงของเด็กนั่นเอง พออ้อแอ้ไปได้ซักระยะ ทำเสียง ดัง-เบา
สั้น-ยาว สูง-ต่ำ ได้คล่องขึ้น มีคนมาพูดคุยด้วยบ่อยๆ ทำให้เกิดความสงสัยว่า เอ้
เสียงอย่างนี้ทำยังไง แม่ทำได้ แล้วเราทำได้หรือเปล่า พอเด็กเริ่มเปรียบเทียบ
ก็อยากลองทำเสียงที่ได้ยินจากแม่ดูบ้างจึงเริ่มเลียนเสียง เลียนได้บ้างไม่ได้บ้าง และพอทำสำเร็จก็ยิ่งอยากเลียนเสียงมากขึ้น
นี่ก็คือขั้นตอนของการเลียนเสียงของเด็ก
ซึ่งเราสามารถนำเปียโนมาช่วยพัฒนาเด็กในขั้นตอนนี้ได้
เสียงคนนั้นไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกในขณะนั้นๆ น้ำเสียงที่ออกมาจึงมีความเที่ยงตรงน้อยกว่าเปียโนมาก
การใช้เปียโนมาช่วยพัฒนาในขั้นนี้จึงทำให้เด็กเลียนเสียงได้ง่ายขึ้นจากระดับเสียงที่ชัดเจนของแต่ละคีย์ การกดแต่ละครั้งก็กำหนดเสียง ดัง-เบา สั้น-ยาว ได้
บางครั้งถ้าให้เด็กกดเองและกระตุ้นให้เขาออกเสียงตามไปด้วยก็ช่วยให้สนุกกับการเลียนเสียงมากขึ้น หรือเวลากดเสียงที่เปียโน คุณแม่อาจจะกดคีย์ที่มีเสียงใกล้กับเสียงของเด็กก็จะช่วยให้การเลียนเสียงทำได้ง่ายขึ้นไปอีก
การใช้เปียโนมาช่วยส่งเสริมพัฒนาการขั้นเลียนเสียงนี้ก็คล้ายกับการให้เด็กท่อง
ก.ไก่ ก่อนเรียนสระเพื่อการผสมคำ
มันช่วยลดขั้นตอนของการลองผิดลองถูกไปได้ระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม
เด็กยังคงต้องเลียนเสียงแม่เพื่อเป็นตัวแบบในการเรียนรู้ขั้นต่อๆไป
ครูฤทธิ์...
วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
พัฒนาลูกน้อยด้วยเปียโน ตอนที่1 (ด้านอารมณ์)
ตอนที่ 1
เปียโนเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะแก่การส่งเสริมพัฒนาการ
เปียโนเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่นับว่ามีเสียงครบมากที่สุด แต่ละคีย์ที่ไล่เสียงขึ้นไป มีช่วงเสียงที่เท่าๆ
กัน และเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่การเล่นโน้ตทั้ง
7 คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที จึงจัดเรียงคีย์เปียโนเป็นคีย์ขาวและคีย์ดำ
ตอนเด็กๆ
เราจะคิดว่า
เครื่องดนตรีที่มีคีย์ขาวและคีย์ดำนี้เรียกว่าเปียโนทั้งหมด พอโตขึ้นมา
จึงรู้ว่ามีการแยกชนิดเป็นหลายแบบ
มีชื่อเรียกต่างกัน
ลักษณะวิธีการเล่นก็ต่างกัน
ที่เห็นชัดเจนคือ อิเล็กโทนกับเปียโน
อิเล็กโทนก็แบ่งออกไปอีกหลายแบบตั้งแต่ระดับผู้เล่นเบื้องต้นไปจนระดับมืออาชีพที่เขาใช้กัน เปียโนก็แบ่งออกไปหลายแบบ เช่น
เปียโนไฟฟ้า (แบบมีลักษณะเสียงให้ใช้เท่าที่จำเป็น
กับมีลักษณะเสียงให้ใช้มากๆ) เปียโนไฟฟ้า
(แบบเลือกเสียงเอ็ฟเฟ็คได้) แกรนด์เปียโน อัพไรท์เปียโน
และอื่นๆ อีกมากมายเต็มไปหมด
แต่สำหรับเด็กแล้วเปียโนก็คือเครื่องดนตรีที่มีคีย์ขาวและคีย์ดำ
ซึ่งรู้แค่นี้ก็เพียงพอแก่การส่งเสริมพัฒนาการแล้ว
เปียโนตัวเล็ก
(อิเล็กโทน) มีคีย์ 49 คีย์ หรือเปียโนตัวใหญ่ มีคีย์ 88 คีย์ เท่านี้เด็กก็มีอุปกรณ์ให้นับเลขแล้ว การจัดหมวดหมู่ของคีย์เปียโนเป็นอ็อกเต็บๆ ละ 12 คีย์ ก็เท่ากับหนึ่งโหล
เปียโนตัวเล็กมี 4 โหลกับหนึ่งคีย์ ส่วนตัวใหญ่มี 7 โหลกับ
4 คีย์
และถ้าบ้านไหนมีเปียโนทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ยิ่งทำให้เด็กเปรียบเทียบได้ชัดเจนขึ้น เรียนรู้ของสองสิ่งที่มีลักษณะที่เหมือนกันคือ
คีย์ขาวและคีย์ดำ ความต่างของจำนวนคีย์เปียโน จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าหัวข้อการเรียนรู้มีมากมายสำหรับเครื่องเปียโน
ในมุมมองของผม เครื่องเปียโนเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะแก่การส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ซึ่งถ้าเราพูดถึงในสี่หัวข้อของพัฒนาการจะมีดังนี้
ด้านร่างกายเด็กได้เคลื่อนไหวนิ้วมือกดลงไปที่โน้ตต่างๆ เมื่อกดไปๆ
จนมีความสามารถมากขึ้นเล่นเปียโนโดยใช้นิ้วทั้ง 10
ได้แล้วก็เรียกว่าเป็นการฝึก brain gym ชั้นดีเลยทีเดียว ไม่ได้ช่วยให้เรียนเก่ง
แต่ช่วยให้มีกำลังความคิดมากขึ้น พอกำลังมีมากก็คิดอะไรได้มากกว่า
คนทั่วไปจึงคิดว่าเด็กที่เรียนเปียโนเป็นเด็กที่ฉลาดและเรียนเก่ง
ส่วนด้านอารมณ์เปียโนนั้นใช้บรรเลงเพลงได้หลากหลาย แต่ละเพลงอารมณ์ก็แตกต่างกันออกไป เพลงเด็กส่วนใหญ่มักให้อารมณ์สนุกสนานร่าเริง กระฉับกระเฉง ตื่นเต้น
เหมาะกับวัยอยากรู้อยากเห็น
โตขึ้นมาอารมณ์เพลงก็มีความหลากหลายขึ้นตามลำดับความสนใจ ซึ่งบางคนก็พัฒนาตนเองไปฟังหรือเล่นเพลงในระดับที่มีการเคลื่อนไหวของอารมณ์สูง
เช่น เพลงคลาสสิค เป็นต้น
ด้านสังคมเปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่มีทั้งผู้เล่นและผู้ฟัง เมื่อเล่นที่บ้าน คนในบ้านเป็นผู้ฟัง เล่นที่โรงเรียน คนในโรงเรียนเป็นผู้ฟัง เล่นออนไลน์
คนในสังคมออนไลน์เป็นผู้ฟัง แสดงโชว์
คนซื้อบัตรเป็นผู้ฟัง
ทุกที่ที่กล่าวมาทั้งคนเล่นและคนฟังต้องรู้กฎเกณฑ์และมารยาทต่างๆ ในแต่ละสถานที่
เช่นในบ้านเล่นไม่เพราะไม่เป็นไรแต่อย่าเล่นตอนตีสองเป็นพอ
เล่นที่โรงเรียนหรือสังคมออนไลน์ก็ควรพัฒนาฝีมือจนผู้อื่นฟังแล้วรู้สึกว่าเพราะในระดับหนึ่ง ยิ่งถ้าเปิดการแสดงแบบมีคนซื้อบัตรด้วยแล้ว ไม่เพียงแค่เล่นเพราะเท่านั้น ยังต้องดูองค์ประกอบอื่นๆ เช่น
เสื้อผ้าหน้าผม สถานที่ เก้าอี้ ความสะอาด ฯลฯ
เหล่านี้ล้วนเป็นทักษะทางสังคมทั้งสิ้น เว้นแต่จะเล่นเองฟังเองในห้องเก็บเสียงหรือใส่หูฟัง
ด้านสติปัญญาตามที่ได้กล่าวมาแล้วคือเด็กที่ได้เล่นเปียโนจะเหมือนได้ฝึก
brain
gym ชั้นดี
หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับโอกาสของเด็กแล้วว่าจะได้เรียนรู้อะไร เรียนรู้อย่างไร
เพราะกำลังความคิดที่ได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อได้รูปแบบการเรียนที่ดีย่อมรับความรู้มาก และคิดต่อยอดได้ไกล
โดยสรุป เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่เหมาะแก่การใช้เป็น
อุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการในทุกระดับ
ทุกวัย
ไม่ว่าจะพัฒนากันตั้งแต่ในท้อง แรกเกิด
เติบโต กระทั่ง ต...
ก็ใช้ได้ทั้งนั้น
ครูฤทธิ์
จิตพัฒฯ
วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
แนวการฝึก 3 ทักษะ 5 ขั้นตอน เพลง Lover's Concerto Level 2
เพลงใน Level 2 คล้ายกับ Level 1 คือจำนวนตัวโน้ตใกล้เคียงกัน ยังใช้จังหวะพื้นฐานอยู่ ที่ต่างกันคือช่วงกว้างของตัวโน้ตมือซ้ายจะกว้างขึ้น ทำให้ได้เสียงที่กังวานและเพราะมากขึ้น
วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
พัฒนาลูกน้อยด้วยไท้เก็ก (ด้านร่างกาย) ตอนที่ 3
คราวที่แล้วพูดถึงข้อดีของการเป็นเด็กในการรำไท้เก็กว่าเด็กนั้น อ้วนกลม
แขนขายังไม่ค่อยมีแรง และการตอบสนองต่อวัตถุต่างๆเป็นแบบยอมรับ
และอ่อนตามกำลังของวัตถุนั้นๆ
ทำให้การฝึกไท้เก็กในเด็กมีข้อได้เปรียบกว่าการฝึกในผู้ใหญ่
มาในตอนนี้เราจะไปดูกันว่าเมื่อลูกน้อยฝึกไท้เก็กแล้วจะได้รับการพัฒนาอย่างไรบ้าง
ซึ่งในที่นี้จะพูดเน้นไปที่ทักษะทางด้านร่างกายเป็นหลัก
ในเด็กตั้งแต่แรกคลอด พัฒนาการทางร่างกายอาจหมายถึงการที่เด็กชันคอ
พลิกตัว นอนคว่ำ ยกอกกระดกก้น
นั่ง ลุก เกาะ คลาน คุกเข่า ยืดตัวยืนตรงไปจนถึงเดินได้เอง พอถัดมา
ยืนได้เดินได้อยากไปเร็วขึ้นก็เริ่มออกวิ่ง
เล่นสนุกด้วยการกระโดด
กระโดดสูงๆ กระโดดกระต่ายขาเดียว กระโดดสองขา
เดินหน้าถอยหลัง กระโดดยาง ด้านลำตัวช่วงบนก็เช่น ปาเป้า
โยนบอลรับบอล ตีเกราะเคาะไม้
เป็นต้น
เมื่อเราย้อนไปดูเส้นทางพลังของเด็กที่ใช้ไปกับกิจกรรมต่างๆ จะเห็นว่าจุดเริ่มต้นอยู่ตรงสะดือ
(ย้อนไปตอนอยู่ในครรภ์) เขาได้รับพลังงานมาจากสายสะดือจนเติบโตตัวใหญ่ขึ้นมา พอออกมาจากท้องแม่แล้ว ก็พยายามชันคอขึ้นด้วยความอยากรู้อยากเห็น พลังถูกส่งขึ้นไปเป็นเส้นตรง เมื่ออยากรู้มากเข้าก็ส่งแรงไปขยับคอบ่อยๆ
ทำให้เส้นทางของพลังแข็งแรงขึ้นจนพลิกตัวได้ นี่คือพลังสายแรกที่เด็กได้พัฒนาขึ้น เส้นทางพลังอีกสี่สายคือแขนสอง ขาสอง
ก็ถูกพัฒนาขึ้นจากความอยากรู้อยากเห็นของเด็กในลำดับถัดมา ตามความใกล้ไกลของเส้นทางพลัง และความละเอียดอ่อนของกิจกรรมที่ทำ
(กิจกรรมที่ใช้ fine motor คือส่วนของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
เช่นนิ้วมือย่อมมีความละเอียดอ่อนมากกว่ากิจกรรมที่ใช้ gross motor หรือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่นแขนขา)
จากการวิเคราะห์ข้างต้นทำให้เรารู้ว่า จุดกำเนิดของพลังนั้นอยู่ตรงไหน เส้นทางของพลังเป็นอย่างไร และกิจกรรมต่างๆ ของเด็กนั้นเกิดขึ้นจากอะไร ที่สำคัญคือสิ่งต่างๆ
เหล่านี้เป็นไปโดยธรรมชาติของเด็ก
คำถามต่อมาคือ แล้วรู้ไปทำไม
คำตอบก็คือ
รู้ไปเพื่อความเข้าใจในหลักการของไท้เก็ก
ไท้เก็กมักถูกโยงเข้ากับความเป็นธรรมชาติของสิ่งต่างๆ
ความเป็นธรรมชาติของเด็กเป็นสิ่งที่ค่อนข้างแปลก เพราะถ้าลองคิดดูดีๆ แล้ว สิ่งที่เด็กทำล้วนเกินกำลังของตัวเองทั้งสิ้น ตั้งแต่การพลิกตัว เขาเกิดมาไม่สามารถพลิกตัวได้ ไปจนการนั่ง
การยืน การเดิน และการวิ่ง
ถ้ามองตอนเด็กอายุ สามเดือนคงมองไม่ออกว่าจะวิ่งได้อย่างไร แต่ด้วยธรรมชาติของเขาทำให้พัฒนาจนทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้
พูดง่ายๆ คือ
ธรรมชาติของเด็กมักทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ (มองจากตอนอายุสามเดือน) ให้เป็นไปได้ (เมื่อเวลาผ่านไป) และถ้าความรู้นี้ติดตัวเด็กไปใช้ตอนที่เขาโตแล้ว
เขาจะรู้กระบวนการทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้
“เราสามารถทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้” ด้วยความคิดนี้ เป็นประโยชน์กับเด็กอย่างมากในทุกๆ
ช่วงอายุที่เขาเติบโตขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น
เด็กวัยเรียนถ้าเพื่อนในห้องเรียนไม่เก่ง
เรียนไม่รู้เรื่องเหมือนกันความคิดนี้คงไม่ได้ใช้งานเท่าไรนัก แต่เราก็พบเด็กจำนวนไม่น้อย ที่คิดว่าเพื่อนเก่งกว่า เขาทำได้
เราทำไม่ได้
เราไม่เก่งเหมือนเพื่อน ความคิดที่กัดกร่อนเช่นนี้
ผู้ปกครองโดยมากไม่เห็น
ไม่ได้ให้ความสำคัญ
พอนานวันเข้าจึงส่งผลกระทบที่เป็นรูปธรรมออกมา เมื่อถึงวันนั้นปัญหาก็บานปลายซะแล้ว แต่ถ้าเด็กมีความคิดว่า
“เราสามารถทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้” แล้ว อีกทั้งยังรู้หลักการและกระบวนการในการทำ เด็กเริ่มทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เช่นคิดว่าเพื่อนเรียนเก่ง
แล้วเราจะเรียนสู้เพื่อนได้อย่างไร
ก็เปลี่ยนเป็นเพื่อนเรียนเก่ง
เราก็สามารถเรียนให้เก่งเหมือนกับเพื่อนได้เพราะเรารู้หลักการในการเรียนให้เก่ง อีกทั้งยังรู้กระบวนการการเรียนให้เก่ง โดยเทียบเคียงจากหลักการในไท้เก็ก เป็นต้น
ดังนั้น การเรียนไท้เก็กจึงได้ประโยชน์หลายอย่าง เพราะนอกจากประโยชน์ในเรื่องของทักษะทางร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์นั้น แนวคิดต่างๆ
ที่ได้จากการเรียนก็เป็นข้อดีอีกข้อเหมือนกัน
ครูฤทธิ์...
วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
แนวการฝึก 3 ทักษะ 5 ขั้นตอน เพลงแมงมุมลาย Level 1
เพลงใน Level 1 เป็นการเล่นโน้ตง่ายๆ ทั้งมือซ้ายและมือขวา จำนวนโน้ตไม่มากนักเน้นจังหวะพื้นฐานและการจดจำตัวโน้ต
ลิขสิทธิ์ โดย
พัฒนาลูกน้อยด้วยไท้เก็ก (ด้านร่างกาย) ตอนที่2
ในตอนที่แล้วไว้พูดไว้ว่าเด็กๆ
นั้นมีไท้เก็กที่ดีอยู่แล้ว
เราแค่พยายามรักษาส่วนดีที่ติดตัวเขามาตามธรรมชาติให้อยู่กับเขาไปนานๆ และนำส่วนดีนั้นๆ มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ในตอนนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า ส่วนดีที่พูดถึงนั้นมีอะไรบ้าง
ความอ้วนกลมของเด็กก็คือส่วนดีในการรำไท้เก็ก เหล่าซือของผมเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยที่ท่านฝึกไท้เก็กใหม่ๆ
ท่านถามอาจารย์ของท่านว่าทำอย่างไรถึงจะเก่ง
อาจารย์ของท่านตอบกลับมาว่า
ลื้อไม่ต้องฝึกอะไรมากหรอกเพราะหุ่นลื้อมันให้อยู่แล้ว ใช่เลย...
เหล่าซือผมเป็นคนอ้วนกลม
ไม่ต้องฝึกอะไรมากก็เก่งอยู่แล้ว
เวลาผมฝึกผลักมือกับเหล่าซือก็มักจะเสียท่าแบบง่ายๆ เพราะความที่ท่านกลม ทำให้ผมผลักไม่ค่อยถูกจุดสำคัญ พอท่านออกแรงเพียงนิดหน่อยก็ทำให้ผมเสียหลักได้ นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไม ความอ้วนกลมของเด็กนั้นคือส่วนดีในการรำไท้เก็ก
แขนขาที่ยังไม่แข็งแรงก็เป็นอีกข้อที่ดีสำหรับการฝึกไท้เก็ก
โดยธรรมดาแล้วผู้ใหญ่ส่วนมากที่เริ่มฝึกนั้นจะต้องพยายามลดความแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อแขน
ขา และฝ่ามือลง เพื่อทำชี่เคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น
เคลื่อนไหวไม่แข็งเกร็ง มีความยืดหยุ่นสูง เปลี่ยนแปลงท่วงท่าได้ง่าย
ซึ่งกว่าจะฝึกได้ตามที่กล่าวมานี้ต้องใช้เวลากันเป็นปี พอทำให้แขนขาอ่อนแล้วยังต้องฝึกการเคลื่อนกำลังจากท้องน้อยอีก คราวนี้หลายปีเลย แต่ในเด็กเล็กๆ
นั้นแทบไม่ต้องฝึกส่วนนี้เลย เพราะแขนขาและการเคลื่อนพลังเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เด็กไม่ต้องฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ไม่ต้องฝึกการเคลื่อนไหวในท่าทางที่ถูกต้องเพื่อให้ชี่วิ่งได้ดี ความยืดหยุ่นก็มีสูงอยู่แล้ว ส่วนการเคลื่อนพลังนั้นเนื่องจาก
เด็กยังไม่มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมากนัก เวลาทำอะไรก็ต้องทุมแรงจากทั้งตัว ทำให้ส่วนท้องน้อยและลำตัวออกแรงมากที่สุด
ให้ลองสังเกตเวลาที่เด็กต้องดันของอะไรซักอย่างที่มีน้ำหนักมากๆ จะเห็นได้ชัดว่าเขาออกแรงส่วนใดบ้าง หรือถ้าเป็นเด็กอายุก่อนสามเดือนจะเห็นได้ชัดเวลาที่เขาขยับตัวว่า เขาออกแรงจากส่วนใดบ้างของร่างกาย นั่นแหละคือสิ่งที่ผู้ใหญ่ฝึกรำไท้เก็กกันเพื่อให้ได้ลักษณะการออกแรงแบบนั้น
การตอบสนองต่อวัตถุที่มากระทบก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่ดี
เพราะถ้าเป็นผู้ใหญ่มีวัตถุอะไรบางอย่างวิ่งเข้ามาหาก็มักจะจับหรือหยุดการเคลื่อนไหวนั้นด้วยกำลัง แต่สำหรับเด็ก
ร่างกายที่ไม่ได้มีกำลังไปหยุดทุกสิ่งอย่างก็จะมีการตอบสนองแบบยอมรับ
และอ่อนตามกำลังของวัตถุนั้นๆ
ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นของการฝึกไท้เก็ก
จากข้อดีหลายๆ ข้อที่กล่าวมา
จึงเห็นควรให้ลูกน้อยได้เรียนรู้หลักการใช้พลังของไท้เก็กตั้งแต่เด็กๆ เพราะถ้าเรารอไปจนอายุ 60
70 แล้วละก็... คงนึกไม่ออกแล้วว่าตอนเด็กๆ ออกแรงผลักของอย่างไร
ครูฤทธิ์...
วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
พัฒนาลูกน้อยด้วยไท้เก็ก (ด้านร่างกาย) ตอนที่1
พัฒนาลูกน้อยด้วยไท้เก็กเป็นอย่างไร หลายคนอาจสงสัย แต่หลายคนที่เคยเรียน หรือพอจะรู้จักจากสื่อต่างๆ
คงจะพอนึกภาพออกว่าไท้เก็กนั้นนำมาพัฒนาลูกน้อยได้อย่างไร
ก่อนอื่นคงต้องพูดถึงที่มาที่ไปของไท้เก็กให้ฟังกันคร่าวๆ
ว่ามีหน้าตาอย่างไร เกิดขึ้นจากอะไร
(ตามความเข้าใจของผู้เขียน
และขออภัยท่านผู้รู้ไว้ที่นี้ด้วยจ้า)
ไท้เก็กนั้นเกิดขึ้นจากความว่างเปล่า
เป็นการผสมผสานระหว่างด้านที่ต่างกันทั้งสอง เช่น มืดกับสว่าง ขาวกับดำ
อ้วนกับผอม หนักกับเบา ความต้องการกับความไม่ต้องการ เมื่อไท้เก็กเกิดการผสมผสานกันความว่างเปล่าจึงเกิดเป็นความมี ความมีไปสู่ความว่างเปล่ากลับไปกลับมา เขียนไปเขียนมาก็เริ่มงง เอาเป็นว่าเราจบในส่วนที่ลึกซึ้งไว้เพียงเท่านี้ดีกว่า ส่วนใครที่อยากศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับจุดกำเนิดของไท้เก็กอาจตามไปศึกษาได้จากแนวคิดของลัทธิเต๋า ถ้าเป็นหนังสือก็ชื่อ เต๋า เต็ก เก็ง
ทีนี้เรามาพูดกันในส่วนของการนำไปใช้น่าจะใกล้เคียงกับหัวข้อของเรามากกว่า การรำมวยไท้เก็กนั้นเชื่อกันว่าผู้ที่คิดค้นวิชานี้ขึ้นมาคือนักพรตในลัทธิเต๋าชื่อว่า
จาง ซาน ฟง หลายคนคงรู้สึกคุ้นๆ
กับชื่อนี้ ท่านเป็นผู้ที่มีอายุยืนยาวมาก
ตามที่ได้ยินมาก็มากกว่า 200 ปี
จึงเป็นเหตุให้ผู้เฒ่าทั้งหลายที่อายุมากๆ
หันมาเรียนรำมวยไท้เก็กกันมากเพราะเชื่อว่า ทำให้สุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์
และมีอายุยืนยาวเหมือนท่าน จาง ซาน ฟง
ส่วนคนอายุน้อยๆ
ที่เรียนรำมายไท้เก็กก็มีความเชื่อเช่นนี้เหมือนกัน ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ และมีอายุยืนยาว เพราะส่วนมากแล้ววัยรุ่น
หรือผู้ใหญ่ที่ยังอายุไม่มากนั้นจะรำมวยเพื่อรักษาโรคทางกายของตนเอง หลายคนรักษาโรคที่เจ็บป่วยได้ หลายคนก็ไม่
แต่หลายคนรักษาโรคของตนเองหายแล้วยังรำไท้เก็กต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอจนมีฝีมือที่ก้าวหน้าอยู่ในระดับอาจารย์ก็มาก ส่วนในเด็กเล็กๆ
นั้นไม่ค่อยมีใครฝึกกันเนื่องจากยังไม่เห็นความสำคัญ แถมท่ารำยังเชื่องช้าน่าเบื่ออีกด้วย จึงมีน้อยคนนักที่จะเรียนด้วยความสนใจของตนเอง
มีแนวคิดหนึ่งในการฝึกของไท้เก็กที่กล่าวว่า “จงเลียนแบบการเคลื่อนไหวของเด็ก” เพราะเด็กเคลื่อนไหวโดยใช้กำลังจากท้องน้อย การส่งพลังจากท้องน้อยขึ้นมาตามหลัง ผ่านสู่ลำแขนและปล่อยออกทางฝ่ามือ
คงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ใหญ่เนื่องจากหลังยาว แขนก็ยาว
เวลาหายใจก็หายใจแค่ปอดไม่ได้หายใจลงไปถึงท้องน้อย พลังจึงน้อย
เวลาปล่อยพลังออกจากท้องจึงหมดแรงเสียก่อนที่พลังจะเดินทางไปถึงฝ่ามือ แต่ถ้าเป็นเด็ก ตัวก็สั้น
แขนก็สั้น มือก็กลม หายใจเข้าทีลงไปถึงท้องน้อย หายใจออกทีเลือดลมแล่นไปทั่วร่างกาย
จึงแทบไม่ต้องบังคับพลังจากลมปราณให้ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพราะว่ามันเป็นไปตามธรรมชาติอยู่แล้ว
การพัฒนาลูกน้อยด้วยไท้เก็กจึงหมายถึง
การที่เราพยายามรักษาส่วนดีที่ติดตัวเขามาตามธรรมชาติให้อยู่กับเขาไปนานๆ และนำส่วนดีนั้นๆ มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเราจะพูดถึงในตอนต่อๆ ไป
ครูฤทธิ์
วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สินค้าและบริการ
1.คอร์สเรียนเปียโนออนไลน์เดี่ยว
รับเด็ก ป.1 เป็นต้นไป
ราคา 600 บาท / เดือน
2.คอร์สเรียนเปียโนออนไลน์กลุ่ม (2-5คน)
รับเด็ก ป.1 เป็นต้นไป
ราคา 500 บาท / เดือน
แนวทางการสอน
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ 064-6641996
รับเด็ก ป.1 เป็นต้นไป
ราคา 600 บาท / เดือน
2.คอร์สเรียนเปียโนออนไลน์กลุ่ม (2-5คน)
รับเด็ก ป.1 เป็นต้นไป
ราคา 500 บาท / เดือน
แนวทางการสอน
สอนตามพัฒนาการในการเรียนรู้ของเด็ก จาก ง่าย ไปหา ยาก จาก ความรู้เดิม ไปสู่ ความรู้ใหม่ ซึ่งเรียกว่า 3ทักษะ5ขั้นตอน โดยได้แนวคิดมาจาก สามห่วงพัฒนาการ
วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
การรวมตัวครั้งแรก (บทเพลงภาษาไทย)
การรวมตัวครั้งแรกระหว่างวิชาพัฒนาการกับวิชาดนตรีนั้นเกิดขึ้นจากแนวคิดทั่วๆไปที่อยากทำให้การเรียนรู้ของเด็กนั้นมีความสนุกสนานไม่น่าเบื่อ
ซึ่งมีท่านผู้รู้หลายท่านได้ทำไว้ก่อนหน้านี้แล้วนั่นคือ เพลงภาษาไทย
หลังจากมีแนวคิดที่จะทำเพลงภาษาไทยแล้วนั้น
จึงหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าก่อนหน้านี้มีเพลงภาษาไทยในรูปแบบไหนบ้างที่ยังไม่มีคนทำหรือทำแล้วยังมีที่ทำเพิ่มได้บ้าง ก็ปรากฎว่ารูปแบบส่วนใหญ่เน้นไปที่การให้เด็กท่องจำ
ก.ไก่ถึง ฮ.นกฮูกได้
คำร้องส่วนใหญ่จะขึ้นต้นด้วย ก.เอ๋ย ก.ไก่ ข.ไข่ อยู่ในเล้า ...
อีกรูปแบบหนึ่งคือการนำพยัญชนะแต่ละตัวมาเขียนเป็นเพลงเพื่อให้เกิดความสนุก เอาไว้ให้เด็กร้องเล่น มีท่าเต้นประกอบ และใช้ทำนองเพลงจากบทเพลงที่เด็กๆ น่าจะเคยได้ยินได้ฟังกันมาก่อน ทำให้ง่ายแก่การร้องตามเนื่องจากเด็กฮำทำนองได้อยู่แล้ว
หลังจากที่ได้ข้อมูลต่างๆ
มาพอสมควรจึงคิดว่า เพลงที่เป็นเนื้อร้อง
และทำนองใหม่ทั้งหมดนั้นยังไม่มีใครทำ
จึงได้ไอเดียว่า น่าจะลองทำออกมา
และเพื่อให้เพลงที่แต่งออกมาใหม่นี้ใช้งานจนเกิดประโยชน์สูงสุดจึงใส่แนวคิดทางพัฒนาการลงไปในทุกๆ
เพลง และเมื่อเด็กร้องตามจนครบทุกเพลงก็จะได้ประโยชน์มากขึ้น อีกทั้งถ้าได้เรียนรู้ตามกระบวนการของแต่ละเพลงก็จะได้ประโยชน์มากยิ่งๆ
ขึ้นไป
การเรียนรู้บทเพลงพัฒนาการที่แต่งขึ้นใหม่นี้ก็เหมือนกับเราพาเด็กไปเที่ยวเล่นในสวน ที่มีทั้งดอกไม้ แหล่งน้ำ
สัตว์นานาชนิด
เครื่องเล่นต่างๆ ผู้คนที่ยิ้มแย้มแจ่มใส่พากันเข้ามาในสวน เราจึงให้ชื่อเพลงที่แต่งขึ้นใหม่นี้ว่า “บทเพลงแห่งสวนพัฒนาการ”
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.wegointer.com/2013/08/7-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%93%E0%B8%B0/
วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
จินตเปียโน
ในบทความก่อนได้พูดถึงการรวมความเชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการกับทักษะทางเปียโนทำให้เกิดหลักสูตร 3 ทักษะ 5 ขั้นตอนขึ้น แน่นอนว่ามีผลิตผลที่เกิดขึ้นจากการรวมกันนั้นหลายอย่าง ซึ่งอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ “จินตเปียโน”
สมองของเรานั้นเซลล์ประสาทถูกสร้างและเชื่อมโยงขึ้นจากประสาทสัมผัสทั้งห้าเพื่อรองรับความคิดอันเกี่ยวเนื่องกัน เมื่อเด็กได้ยิน ได้เห็น ได้สัมผัส ได้คิดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง กระแสประสาทจะเริ่มทำงาน การติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ต่างๆ เริ่มรวมมือกันสร้างเป็นโครงข่าย
เป็นทีมงานที่ทำงานร่วมกัน
จินตเปียโนทำให้เด็กได้เห็น
ได้ยิน ได้สัมผัส
ได้แนวคิดที่แตกต่างไปจากเดิม (ซึ่งผู้เขียนก็เพิ่งค้นพบเหมือนกัน) ได้จินตนาการที่กว้างขึ้นเหมือนภาพพาโนราม่า หรือปลาฉลามหัวฆ้อนที่มีวิสัยทัศน์กว้างกว่าปลาฉลามทั่วไป
ถ้าเปรียบเทียบสมองเป็นกล่องใส่ความคิด จินตเปียโนนั้นทำให้กล่องของเรากว้างขึ้น เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น
โดยในกล่องนั้นถูกทำให้เป็นสัดส่วนเป็นห้องๆ เพื่อง่ายแก่การแยกประเภท แยกลำดับ
และเชื่อมความสัมพันธ์ของแต่ละกล่องเข้าด้วยกันด้วยแนวคิดทางจินตเปียโน
โดยสรุปแล้วจินตเปียโนนั้นให้ประโยชน์แก่ผู้เรียนในหลายๆ
ด้าน
เนื่องจากเป็นแนวคิดที่เกิดจากความรู้ในส่วนของสมองซีกซ้าย และความรู้ในส่วนของสมองซีกขวามารวมกัน ดังนั้นเวลาที่ใช้จินตเปียโน
สมองทั้งสองซีกจึงถูกกระตุ้นให้ทำงานและร่วมมือกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)